วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2554

ผู้จัดทำ

สมาชิกในกลุ่ม
1.  ด.ญ.  ฐานิดา   จั่นเอียบ               เลขที่ 14
2.  ด.ญ.  รัตนาภรณ์     แก้วอำไพ   เลขีที่  16
3.  ด.ญ.  นวลอนงค์     ตรีวงศ์         เลขที่  33
4.  ด.ญ.   ลภัส       ลัพธะลักษ์         เลขที่   34
5.ด.ญ.ศุภนิต     กาละสังข์     เลขที่35

คำถามท้ายบท

1.   หลักการเครือข่ายแบบแพ็กเก็ตสวิตวิง  คืออะไร  และมีประโยชน์อย่างไรในการสื่อสารข้อมูล
ตอบ   ข้อมูลจะแบ่งกันเป็นแพ็กเก็ต ส่งไปยังปลายทางต่างๆ

2.   เพราะเหตุใดจึงมีการเปลี่ยนแปลงจากการใช้หมายเลขไอพีเป็นดีเอ็นเอส
ตอบ   เลขไอพีจดจำยาก สับสนได้ง่าย

3.   รูปแบบของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์แอดเดรสประกอบด้วยกี่ส่วน  อะไรบ้าง  จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ   2ส่วน คือผู้ใช้และชื่อเครื่องบริการ เช่น waraporn@aksorn.com

4.     เทคโนโลยีการแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูลมีอะไรบ้าง   จงอธิบาย
ตอบ    1.ยูสเน็ต บริการลักษณะกลุ่มสนทนา แลกเปลี่ยนข่าวสาร
            2.บล็อก ใช้เขียนบันทึกเรื่องราวต่างๆ

5.จงบอกมารยาทระเบียบและข้อบังคับการใช้อินเทอร์เน็ตที่นักเรียนพึงปฏิบัติมาอย่างน้อย  5  ข้อ
ตอบ   1.ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
           2.ไม่ใช่คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ
           3.ไม่ใช้สอดแนม
           4.ไม่เอาผลงานผู้อื่นมาเป็นของตน
          5.คำนึงสิ่งที่เกิดขึ้นกับสังคม จากการกระทำของตน


วันศุกร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2554

6.มารยาท ระเบียบ และข้อบังคับการใช้อินเตอร์เน็ต

1.ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายหรือละเมิดผู้อื่นเช่นไม่เผยแพร่ข้อความกล่าวหาบุคคลอื่นให้ได้รับความเสียหาย ไม่เผยแพร่รูปภาพอนาจาร เป็นต้น
2.ต้องไมใช้คอมพิวเตอร์รบกวนการทำงานของผู้อื่น เช่น การเล่นเกมหรือเปิดเพลงด้วยคอมพิวเตอร์รบกวนผู้อื่นที่อยู่ใกล้เคียง
3.ต้องไมสอดแนม แก้ไขหรือเปิดดูแฟ้มงานของผู้อื่นก่อนได้รับอนุญาต
4.ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ในการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
5.ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ในการสร้างหลักฐานเท็จ
6.ไม่ใช้คอมพิวเตอร์คัดลอกหรือใช้โปรมแกรมของผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์โดยไม่ได้รับอนุญาต
7.ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ในการละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์
8.ต้องไม่เอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน
9.ต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมอันเป็นผลมาจากการกระทำของตนเอง
10.ต้องใช้คอมพิวเตอร์เคารพกฎ กติกา ระเบียบ  กติกา และมีมารยาทของหน่วยงาน สถาบันหรือสังคมนั้นๆ



5.คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้อินเทอร์เน็ต

              อินเทอร์เน็ตมีการติดต่อสื่อสารที่เป็นไปอย่างรวดเร็วซึ่งอินเทอร์เน็ตมีบทบาทสำคัญมากขึ้นเท่าใด ย่อมมีผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบ ดังนี้
5.1.ผลกระทบทางบวก
1.ทำให้มีการติดต่อสื่อสารในเครือข่ายขนาดใหญ่ คือ ทำให้คนในสังคมติดต่อสื่อสารได้ทุกสถานที่ ทุกเวลา
2.ช่วยพัฒนาประสิทธิภาพการทำงาน เช่น การติดต่อสื่อสารผ่านอีเมล  การประชุมทางไกลผ่านเครือข่าย
3.ช่วยพัฒนาคุณภาพการศึกษา ทำให้เกิดการศึกษารูปแบบใหม่กระตุ้นความสนใจของผู้เรียนให้เกิดความสนุก  ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ไดเตลอดเวลา ได้แก่ การศึกษาระบบทางไกลผ่านดาวเทียม (e-learning)
 


5.2.ผลกระทบทางลบ
1.ก่อให้เกิดความเครียดในสังคม คือ ทำให้คนในสังคมเข้าถึงข้อมูลมากมายมหาศาล สภาพสังคมจึงเปลี่ยนเป็นสังคมฐานความรู้หรือสังคมที่ใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจ ดังนั้นจึงเกิดการแข่งขันด้านเศรษฐกิจอย่างรุนแรง ซึ่งการตัดสินใจในการทำงานต้องใช่ข้อมูลที่มีคุณภาพ เพื่อให้ได้ตัดสินใจอย่างถูกต้อง ทำให้คนในสังคมเกิดความกดดันและเกิดความเครียดสูง
2.เกิดการแลกเปลี่ยนวัฒนาธรรมจากสังคมหนึ่งไปอีกสังคมหนึ่งซึ่งก่อให้เกิดค่านิยมอันไม่พึงประสงค์ขึ้นในสังคม เช่น การแต่งกายที่ไม่เหมาะสมของเยาวชน การติดเกมประเภทความรุนแรง เป็นต้น
3.เกิดช่องว่างระหว่างคนในสังคม เนื่องจากคนในสังคมใช้เวลาในการเล่นอินเทอร์เน็ตมากขึ้นทำให้การเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมลดลง จนเกิดคำพูดที่ว่า ‘‘ เทคโนโลยีทำให้คนใกล้ไกลมากขึ้น แต่เทคดนโลยีก็ทำให้คนใกล้ไกลมากขึ้น’’ คือ เครือข่ายอินเตอร์เน็ตทำให้คนไกลสามารถสื่อสารได้เหมือนอยู่ใกล้ ในขณะที่คนใกล้เกิดความห่างไกลกัน เช่น คนในครอบครัวที่ต่างคนต่างคุยกับคนในอินเตอร์เน็ต จึงมีเวลาพูดคุยกันในครอบครัวน้อยลง
4.เกิดการละเมิดสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล เนื่องจากอินเตอร์เน็ตเป็นโลกเสรีที่ให้ผู้คนสามารถแสดงความคิดเห็นร่วมกันได้ แต่การแสดงความคิดเห็นที่ไร้ขอบเขต ย่อมส่งผลต่อการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล เช่น การนำข้อมูลส่วนบุคคลออกเผยแพร่ต่อสาธารณชน ซึ่งข้อมูลบางอย่างอาจไม่เป็นจริงหรือยังไม่ได้พิสูจน์ความถูกต้องการแสดงความคิดเห็นด้วยถ้อยคำที่รุนแรงต่อบุคคลผ่านอินเทอร์เน็ต เป็นต้น
5.อาจก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ เช่นการล่อลวงผู้ที่เล่นอินเทอร์เน็ตและก่อคดีล่วงละเมิดทางเพศ การเผยแพร่ข้อมูลที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายในแง่มุมต่างๆทั้งภาพลามกอนาจาร การพนันออนไลน์ การจำหน่ายของผิดกฎหมาย การส่งไวรัสไปทำลายข้อมูลผู้อื่น เป็นต้น





4.การใช้บริการต่างๆบนอินเทอร์เน็ต

                 อินเทอร์เน็ตช่วยให้เกิดการสื่อสารที่ไร้พรมแดนทั่วโลก ดังนั้นจึงมีการนำอินเทอร์เน็ตไปประยุกต์ใช้ในงานหลากหลายประเภท

4.1ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรืออีเมล(electronic mail หรือ   e-mail)

                เป็นบริการที่ได้รับความนิยมมาก เนื่องจากผู้ใช้งานสามารถรับส่งข้อความเพื่อติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร กับบุคคลอื่นๆได้อย่างรวดเร็วกว่าการใช้ระบบไปรษณีย์แบบดั้งเดิม นอกจากนี้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ยังสามารถส่งข้อมูลในรูปแบบอื่นๆนอกเหนือจากตัวอักษรได้อีกด้วย เช่น ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง เป็นต้น
                ในการส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ต้องมีการระบุที่อยู่ของผู้รับและผู้ส่ง ซึ่งเรียกว่าไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์แอดเดรส(e-mail Address)
                สำหรับรูปแบบของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์แอดเดรสประกอบด้วย 2 ส่วนคือ ชื่อผู้ใช้และชื่อเครื่องบริการ โดยใช้เครื่องหมาย@ คั่นระหว่าง 2 ตัวนี้เช่น

waraporn @ aksorn.com
                                                        ชื่อของผู้ใช้คือวราภรณ์      ชื่อของเครื่องบริการคือ aksorn.com

                เมื่อผู้ใช้ส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์แล้ว ไปรษณีย์จะถูกเก็บไว้ที่เมลเซิร์ฟเวอร์(mail server) จนกระทั่งผู้รับมาเปิดอ่าน
               1)เว็บเมล(Web Mail) เป็นบริการรับส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ผ่านโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ โดยผู้ใช้สามารถสมัครลงทะเบียนในเว็บไซต์ที่เปิดให้บริการได้ จากนั้นผู้ใช้จะได้รับไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์แอดเดรสและรหัสผ่าน เพื่อเข้าใช้บริการ ซึ่งเว็บเมลส่วนใหญ่จะให้บริการโดยที่ผู้ใช้ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ


2.)พ็อปเมล (POP Mall) เป็นบริการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์โดยใช้โปรมแกรมจัดการ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นโปรมแกรมจัดการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์จะติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่รับ-ส่ง ที่นิยมใช่เช่น Microsoft Outiook , Windows Mail , Netscape Mill เป็นต้น
 


4.2 .การโอนย้ายแฟ้มข้อมูล
การโอนย้ายแฟ้มข้อมูล(File Transfer Protocal::FTP) เป็นการโอนจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง ซี่งอาจใกล้หรือไกลกัน ในการย้ายแฟ้มข้อมูลเครื่องคอมพิวเตอร์ที่กำลังใช้อยู่และมีโปรมแกรมสำหรับโอนย้ายข้อมูล เรียกว่า เครื่องต้นทาง(local host) ทำหน้าที่เป็นลูกข่าย ส่วนคอมพิวเตอร์ที่ทำการติดต่อโอนย้ายข้อมูลเรียกว่า เครื่องปลายทาง (remote host) ทำหน้าที่เป็นแม่ข่าย ผู้ใช้งานโปรมแกรมเครื่องต้นทางจะต้องระบุเลยหมายไอพีของเครื่องปลายทางที่ต้องการใช้บริการ
                การโอนย้ายแฟ้มข้อมูล มีการทำงาน 2 ลักษณะ คือ
1.get เป็นการโอนย้ายแฟ้มข้อมูลจากเครื่องปลายทางมายังเครื่องต้นทาง (download)
2.put เป็นการโอนย้ายแฟ้มข้อมูลจากเครื่องต้นทางไปยังปลายทาง (upload)
                การบริการมี 2 ลักษณะ ได้แก่
1.การโอนด้วยโปรมแกรมโอนย้ายข้อมูลทั้งที่เป็นแบบแจกฟรี (freeware) และแบบทดลองใช้ก่อน (shareware) เช่น WS_FTP  CuteFTP เป็นต้น
2.การโอนย้ายข้อมูลผ่าน Web  Browser

4.3.การแบกเปลี่ยนข่าวสารความคิดเห็น
                การแลกเปลี่ยนข่าวสารและความคิดเห็น (internet forum) เป็นบริการแลกเปลี่ยนข่าวสาร ความคิดเห็นของผู้คนผ่านสังคมอินเทอร์เน็ต  ซึ่งแนวโน้มล่าสุดของการใช้อินเทอร์เน็ต คือ ใช้เป็นแหล่งพบปะสังสรรค์เพื่อสร้างเครือข่ายทางสังคม(social network) มีเทคโนโลยีหลายรูปแบบเช่น ยูสเน็ต(usenet) บล็อก(blog)
1.)ยูสเน็ต(usenet) เป็นการบริการลักษณะการสนทนาแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารบนอินเตอร์เน็ต โดยต้องเข้าเป็นสมาชิก (subscribe) เมื่อเป็นสมาชิกแล้วก็สามารถดูข้อมูลข่าวสารที่อยู่ในหัวข้อนั้นได้และยังสามารถขอความคิดเห็น สอบถามปัญหา หรือตอบปัญหาของผู้อื่นในกลุ่มหัวข้อนั้นๆได้ สำหรับยูสเน็ตในเว็บไซต์ต่างๆได้มีการจัดแบ่งกลุ่มเป็นหัวข้อต่างๆเช่น กลุ่มการเมือง กลุ่มเทคนิคด้านคอมพิวเตอร์ กลุ่มดนตรี กลุ่มศิลปะ กลุ่มกีฬา เป็นต้น หากไม่ต้องการอ่านข่าวสารหัวข้อนั้นอีกก็สามารถยกเลิกการเป็นสมาชิก (unsubscribe) ของกลุ่มหัวข้อนั้นได้
 


2.)บล็อก(blog)  ย่อมาจาก เว็บบล็อก (webblog) ใช้ในการเขียนบันทึกเรื่องราว โดยเรียงตามลำดับเวลาเพื่อสื่อสารความรู้สึก มุมมอง ประสบการณ์ ความรู้ และข่าวสารโดยจะแสดงข้อมูลล่าสุดไว้ส่วนบนสุดของเว็บไซต์หรือบางครั้งเรียกว่า ไดอารีออนไลน์ (diary online) ข้อมูลหรือความเห็นจะถูกนำเสนอในบล็อกอาจจัดทำโดยบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่เป็นเจ้าของบล็อกหรือบุคคลที่มีความสนใจรวมกัน มีความเชี่ยวชาญเหมือนกันจนเกิดชุมชนบล็อก ผู้ใช้คนอื่นๆสามารถเข้ามาแสดงความคิดเห็นได้ด้วยเช่นกันและสามารถอ่านเรื่องราวที่เกิดขึ้นตามลำดับเวลาได้โดยข้อมูลหรือความเห็นสามารถนำเสนอในรูปของข้อมความภาพมัลติมีเดียทั้งนี้ผู้เขียน(blogger) ต้องระวังในการเขียนข้อมความลักษณะหมิ่นประมาทยั่วยุให้ผู้อื่นกระทำผิดกฎหมายซึ่งอาจมีความผิดตาม พ.ร.บ.  ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันบล็อกที่นิยมใช้ในประเทศไทยมีหลายเว็บไซต์ ที่นิยมใช้เช่น Hi5 , Facebook , Wikipedia , Youtube เป็นต้น


4.4.การสนทนาผ่านอินเทอร์เน็ต
1.)การสนทนาเป็นกลุ่ม  เป็นการสนทนาโดยคู่สนทนาจะพิมพ์ข้อความไปยังเครื่องเซิร์ฟเวอร์จะส่งข้อความแสดงบนหน้าจอของคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่ร่วมสนทนาซึ่งต้องเป็นสมาชิกเพื่อรับชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านเข้าสู่ระบบ โดยส่วนใหญ่เว็บไซต์จะแบ่งห้องสนทนา(chat room) เป็นกลุ่มหัวข้อต่างๆให้ผู้ใช้ได้เลือกใช้บริการตามความสนใจตัวอย่างเว็บไซต์ เช่น Pantip.
 


2.)การสนทนาระหว่างผู้ใช้โดยตรง เป็นการสนทนาโดยมีเซิร์เวอร์บอกตำแหน่งของโปรมแกรมสนทนา(instant messaging) ของคู่สนทนาทำให้สามารถสนทนากับผู้อื่นได้โดยตรงทำได้ทั้งการพิมพ์ ส่งภาพกราฟิก เสียง ภาพเคลื่อนไหว  เสียง  นิยมใช้เช่น MSN messenger , Google Talk.Skype , ICQ, Jabber
 


4.5.บริการค้นหาข้อมูลอินเทอร์เน็ต
1.)ว็บไซต์ที่มีเครื่องมือหรือโปรแกรมการค้นหา(search engine) หาข้อมูลโดยการระบุคำสำคัญเพื่อค้นหาดว้ยโปรแกรมการค้นหา ข้อมูลจะคลอบคลุมทั้งข้อความ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว เพลง ซอฟต์แวร์ แผนที่ ข้อมูลบุคคล กลุ่มข่าวและอื่นๆ ส่วนใหญ่จะค้นหาด้วยคำสำคัญ(keywords) ที่ป้อนเข้าไปและจะแสดงผลลัพธ์ที่ตรงหรือใกล้เคียงกับคำมากที่สุด ตัวอย่างเว็บไซต์ที่มีเครื่องมือการค้นหาที่มีชื่อเสียงทั้งในและต่างประเทศ เช่น Google , Search



2.)เว็บไซต์ที่มีการจัดข้อมูลตามหมวดหมู่(web directories) เป็นเว็บไวต์ที่มีการรวบรวมข้อมูลเว็บไซต์ต่างๆในอินเทอร์เน็ตโดยแต่ละเว็บไซต์จะจีดเป็นหมวดหมู่ที่เหมาะสม เช่น Sanook , Yahoo





3.การเชื่อต่อกับอินเทอร์เน็ต

                การเชื่อมต่อที่นิยมสำหรับผู้ใช้งานทั่วไปจะใช้การเชื่อมต่อแบบหมุนโทรศัพท์(Dial-Up Connection) ซึงสิ่งที่จำเป็นต่อการเชื่อมต่อมีดังนี้
               

1.)เครื่องคอมพิวเตอร์

              

  2.)เว็บบราวเซอร์


3.)หมายเลขและสายโทรศัพท์
 


4.)โมเด็ม


5.)บริการชุดอินเทอร์เน็ตจากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตจากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (Internet Service Provider : ISP)


                การเชื่อมต่อแบบนี้จะมีข้อดี คือ สะดวก ค่าใช้จ่ายต่ำ แต่มีข้อจำกัดด้านความเร็ว และอินเทอร์เน็ตอาจจะหลุดได้หากมีสัญญาณรบกวนภายในสายโทรศัพท์





วันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2554

2.การทำงานของอินเทอร์เน็ต


การติดต่อสื่อสารบนอินเทอร์เน็ตโดยใช้โพรโทคอลทีซีพี/ไอพี

 
 




การส่งข้อมูลแบบแพ็กเก็ตสวิตชิง




การใช้ดีเอ็นเอสแทนหมายเลขไอพี ช่วยให้จดจำง่ายขึ้น






วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554

1.ความหมายและพัฒนาการของอินเทอร์เน็ต

                ปัจจุบันบริการอินเทอร์เน็ตมีหลากหลายรูปแบบ เช่น จดหมาอิเล็กทรอนิกส์(e-mail) การพูดคุยออนไลน์(talk) การซื้อขายสินค้าหรือพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์(e-Commerce) นอกจากนี้อินเทอร์เน็ตยังเป็นแหล่งรวมข้อมูลข่าวสารและสารสนเทศขนาดใหญ่ที่ครอบคลุมความรู้ทุกด้าน

1.1ความหมาย

                อินเทอร์เน็ต (Internet : Interconnection Network) หมายถึง เครือข่ายของเครือข่าย ซึ่งคือ การเชื่อมต่อกันระหว่างเครือข่าย ทำให้เกิดเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่โยงใยทั่วโลก โดยเครือข่ายต้องมีมาตรฐานการรับส่งข้อมูลแบบเดียวกัน แม้คอมพิวเตอร์จะต่างชนิดกัน ก็สามารถสื่อสารกันได้ ปละรับส่งข้อมูลในรูปแบบต่างๆหลายรูปแบบ เช่น ตัวอักษร ภาพกราฟฟิก เป็นต้น


 
1.2พัฒนาการ

                1)ในต่างประเทศ ปี ค.ศ.1969 หน่วยงานการวิจัยขั้นสูง (Advanced Research Projects Agency : ARPA) ของกระทรวงกลาโหม ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้สนับสนุนงานวิจัยเทคโนโลยีเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยช่วงแรกรู้จักกันในนามของเครือข่ายสำนักงานโครงการวิจัยขั้นสูง หรืออาร์พาเน็ต(ARPANET) ซึ่งมีการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ระหว่างสถาบันการศึกษา4แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย มหาวิยาลัยยูทาร์ มหาวิยาลัยแคลิฟอร์เนีย มหาวิยาลัยสแตนฟอร์ด
                อาร์พาเน็ตแบ่งเป็น2เครือข่าย คือ เครือข่ายสำนักงานโครงการวิจัยขั้นสูง(ARPANET) และเครือข่ายกองทัพ(MILNET) โดยช่วงต้นเครือข่ายทั้ง2เป็นเครือข่ายหลักในทวีปอเมริกาเหนือ ต่อมามีการนำเครือข่ายหน่วยงานเชื่อมต่อกับเครือข่ายอาร์พาเน็ตมาเชื่อมต่อกัน และทำให้เกิดเครือข่ายที่มีขนาดใหญ่ จนกระทั่งปี ค.ศ.1984 เครือข่ายนี้ถูกเรียกว่าอินเทอร์เน็ต(Internet) และใช้จนถึงปัจจุบัน

                2)ในประเทศไทย ปีพ.ศ.2530 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย(AIT) ได้เชื่อมต่อเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ของมหาลัยไปยังมหาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย ผ่านสายโทรศัพท์ ซึ่งส่งข้อมูลได้ช้าเป็นการเชื่อมต่อแบบชั่วคราว
                ปี พ.ศ.2535 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(NECTEC) ได้เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์มหาลัย5แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย(AIT) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เกิดเป็นเครือข่ายเรียกว่า เครือข่ายไทยสาร โดยสำนักวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 9,600 บิตต่อวินาที จากการสื่อสารแห่งประเทศไทย เพื่อเชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตที่บริษัท ยูยูเน็ตเทคโนโลยี ประเทศสหรัฐอเมริกา
                ปี พ.ศ.2536 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(NECTEC) เช่าวงจรสื่อสาร 64 บิตต่อวินาที จากการสื่อสารแห่งประเทศไทย ทำให้มีความสามารถส่งข้อมูลได้เร็วขึ้น และมีหน่วยงานอื่นเชื่อมกับเครือข่ายไทยสารอีกหลายแห่ง เครือข่ายไทยสารจึงมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว
                ปี พ.ศ. 2537 การสื่อสารแห่งประเทศไทยร่วมมือกับบริษัทเอกชน เปิดบริการอินเทอร์เน็ตให้แก่บุคคล เรียกว่า ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต(Internet Service Provider : ISP)




อินเทอร์เน็ตและการใช้งาน

อินเทอร์เน็ตและการใช้งาน

          ในยุคที่ยังไม่มีคอมพิวเตอร์ การติดต่อสื่อสารที่นิยมที่สุด คือ การใช้โทรศัพท์ ซึ่งทำให้คนที่อยู่ห่างไกลกันสามารถสื่อสารกันด้วยเสียงได้ จนกระทั่งมนุษย์ได้ประดิษฐ์คอมพิวเตอร์ขึ้น และนำคอมพิวเตอร์หลายๆเครื่องมาเชื่อมต่อกันโดยผ่านสื่อกลางชนิดใดชนิดหนึ่ง เช่น สายโรศัพท์ ดาวเทียม คลื่นไมโครเวฟ เป็นต้น เพื่อสื่อสารข้อมูลกัน หรือ ที่เรียกกันว่าเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำให้การสื่อสารไม่ได้จำกัดแค่การสื่อสารเพียงเสียงอีกต่อไป อีกทั้งเครือข่ายดังกล่าวยังขยายครอบคลุมพื้นที่ทั่วโลก ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่ออินเทอร์เน็ต