วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554

1.ความหมายและพัฒนาการของอินเทอร์เน็ต

                ปัจจุบันบริการอินเทอร์เน็ตมีหลากหลายรูปแบบ เช่น จดหมาอิเล็กทรอนิกส์(e-mail) การพูดคุยออนไลน์(talk) การซื้อขายสินค้าหรือพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์(e-Commerce) นอกจากนี้อินเทอร์เน็ตยังเป็นแหล่งรวมข้อมูลข่าวสารและสารสนเทศขนาดใหญ่ที่ครอบคลุมความรู้ทุกด้าน

1.1ความหมาย

                อินเทอร์เน็ต (Internet : Interconnection Network) หมายถึง เครือข่ายของเครือข่าย ซึ่งคือ การเชื่อมต่อกันระหว่างเครือข่าย ทำให้เกิดเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่โยงใยทั่วโลก โดยเครือข่ายต้องมีมาตรฐานการรับส่งข้อมูลแบบเดียวกัน แม้คอมพิวเตอร์จะต่างชนิดกัน ก็สามารถสื่อสารกันได้ ปละรับส่งข้อมูลในรูปแบบต่างๆหลายรูปแบบ เช่น ตัวอักษร ภาพกราฟฟิก เป็นต้น


 
1.2พัฒนาการ

                1)ในต่างประเทศ ปี ค.ศ.1969 หน่วยงานการวิจัยขั้นสูง (Advanced Research Projects Agency : ARPA) ของกระทรวงกลาโหม ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้สนับสนุนงานวิจัยเทคโนโลยีเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยช่วงแรกรู้จักกันในนามของเครือข่ายสำนักงานโครงการวิจัยขั้นสูง หรืออาร์พาเน็ต(ARPANET) ซึ่งมีการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ระหว่างสถาบันการศึกษา4แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย มหาวิยาลัยยูทาร์ มหาวิยาลัยแคลิฟอร์เนีย มหาวิยาลัยสแตนฟอร์ด
                อาร์พาเน็ตแบ่งเป็น2เครือข่าย คือ เครือข่ายสำนักงานโครงการวิจัยขั้นสูง(ARPANET) และเครือข่ายกองทัพ(MILNET) โดยช่วงต้นเครือข่ายทั้ง2เป็นเครือข่ายหลักในทวีปอเมริกาเหนือ ต่อมามีการนำเครือข่ายหน่วยงานเชื่อมต่อกับเครือข่ายอาร์พาเน็ตมาเชื่อมต่อกัน และทำให้เกิดเครือข่ายที่มีขนาดใหญ่ จนกระทั่งปี ค.ศ.1984 เครือข่ายนี้ถูกเรียกว่าอินเทอร์เน็ต(Internet) และใช้จนถึงปัจจุบัน

                2)ในประเทศไทย ปีพ.ศ.2530 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย(AIT) ได้เชื่อมต่อเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ของมหาลัยไปยังมหาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย ผ่านสายโทรศัพท์ ซึ่งส่งข้อมูลได้ช้าเป็นการเชื่อมต่อแบบชั่วคราว
                ปี พ.ศ.2535 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(NECTEC) ได้เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์มหาลัย5แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย(AIT) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เกิดเป็นเครือข่ายเรียกว่า เครือข่ายไทยสาร โดยสำนักวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 9,600 บิตต่อวินาที จากการสื่อสารแห่งประเทศไทย เพื่อเชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตที่บริษัท ยูยูเน็ตเทคโนโลยี ประเทศสหรัฐอเมริกา
                ปี พ.ศ.2536 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(NECTEC) เช่าวงจรสื่อสาร 64 บิตต่อวินาที จากการสื่อสารแห่งประเทศไทย ทำให้มีความสามารถส่งข้อมูลได้เร็วขึ้น และมีหน่วยงานอื่นเชื่อมกับเครือข่ายไทยสารอีกหลายแห่ง เครือข่ายไทยสารจึงมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว
                ปี พ.ศ. 2537 การสื่อสารแห่งประเทศไทยร่วมมือกับบริษัทเอกชน เปิดบริการอินเทอร์เน็ตให้แก่บุคคล เรียกว่า ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต(Internet Service Provider : ISP)




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น